โรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทยมีชาวต่างชาติจำนวนมากมาใช้บริการ
ไม่แปลกใจว่าหากไทยกำลังดันตัวเองขึ้นมาเป็นผู้นำด้านการแพทย์ครบวงจร
แต่ข้อเท็จจริงหนึ่งที่ต้องดึงความฝันนี้กลับสู่ความจริงคือ
ไทยนำเข้าเครื่องมือแพทย์ถึง 80% นั่นหมายความว่า ผู้รับประโยชน์จากความนิยมนี้คือประเทศผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่แทบไม่ต้องลงทุนอะไร
ส่วนไทยต้องนำทรัพยากร ผู้คน และโอกาสทางการแพทย์ของคนในประเทศไปแลกมา
วรพล โสคติยานุรักษ์
ประธานสภาความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย (MPCT) และประธานคณะกรรมการทุนบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์
(TMET Fund) กล่าวว่า
ประเทศไทยสามารถที่จะยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคตจากฐานเดิมที่มีความเชี่ยวชาญและมีข้อได้เปรียบ
โดยอุตสาหกรรมทางการแพทย์ถือว่าประเทศไทยได้รับความยอมรับจากนานาชาติเนื่องจากความเชี่ยวชาญของบุคลากรทางการแพทย์
มาตรฐานการรักษาพยาบาลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
รวมทั้งค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ
จุดเด่นต่างๆทำให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยที่เดินทางเข้ามารักษาพยาบาล
(Medical Visit) ถึงประมาณ 1.05
ล้านคนต่อครั้งต่อปี และหากนับรวมจำนวนที่มีผู้ที่เดินทางเข้ามาดูแลผู้ป่วยที่เป็นชาวต่างชาติในประเทศไทยหรือกลุ่มที่จะเป็น
Medical Tourism จะรวมเป็น 3
ล้านคนต่อปี ซึ่ง Medical Tourism ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนให้ตัวเลขการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศมีมากถึง
40 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม
แม้การเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลของชาวต่างชาติจะมีจำนวนมากขึ้นแต่ในปัจจุบันเรายังไม่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้อย่างเต็มที่เนื่องจากเครื่องมือทางการแพทย์
ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆประเทศไทยยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศมากถึง 80%
วิธีการแก้ไขก็คือต้องยกระดับให้มีความสามารถการผลิตเครื่องมือ
และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ด้วย
เพื่อสร้างความมั่นใจและสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ทั้งเพื่อลดการนำเข้าและยังช่วยเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่มีความพร้อมที่จะผลักดันให้เป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมการแพทย์
เนื่องจากในพื้นที่มีเครื่องไม้เครื่องมือมีกฎระเบียบ
และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆโดยเมื่อโครงสร้างต่างๆที่คอยให้การสนับสนุน
นอกจากนี้
ประเทศไทยยังมีความได้เปรียบในเรื่องของความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งถือว่าเป็นฐานของการผลิตและวัตถุดิบทางการแพทย์
ทั้งนี้ประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ
และอาหารทางการแพทย์ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณสมบัติมากกว่าอาหาร เช่น
ไปเป็นอาหารเสริม ไปเป็นยารักษาโรค บางอย่างได้ต่อไป
ทั้งนี้ในการตั้งเป้าให้ประเทศไทยมีความพร้อมในเรื่องของการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์
ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ และเทคโนโนโลยีทางการแพทย์
เพื่อสร้างความมั่นคงทางการแพทย์ในระยะยาวนั้น
ในปี 2561
หน่วยงานต่างๆทางด้านการแพทย์ สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีการรวมตัวกันเพื่อสร้างความพร้อมทั้งในเรื่องของ
ทุนความรู้ กฎระเบียบ (Regulation) ต่างๆให้เอื้อต่อการลงทุนจำนวน
2 คณะ
โดยคณะแรกมีการจัดตั้งคณะกรรมการทุนบูรณาการเพื่อความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีการแพทย์
(TMTE Fund) เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานสนับสนุนด้านงานวิจัยต่างๆ
5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
(สวรส.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตและเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยมีวัตถุประสงค์ของความร่วมมือเพื่อผลักดันและแก้ปัญหาการพัฒนาผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ในประเทศไทยที่มีลักษณะเฉพาะ
ซึ่งต้องการสนับสนุนทุนและความช่วยเหลืออื่นๆ เช่น กฎระเบียบ นโยบายที่เกี่ยวข้อง
และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางส่งเสริมการวิจัยด้านการแพทย์ให้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง
ส่วนคณะที่ 2
คือการจัดตั้งสภาความร่วมมือด้านผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งประเทศไทย (MPCT) ถือว่าเป็นกรอบความร่วมมือรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้น
โดยได้มีการจัดตั้งเกิดจากความร่วมมือของ TMTE Fund และหน่วยงานอื่นๆ
อาทิเช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)กระทรวงสาธารณสุข
สถาบันทางวิชาการและวิชาชีพ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
และสถาบันศึกษาต่างๆอาทิเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีสถาบันวิชาการและวิชาชีพทางด้านแพทย์และเภสัชกรได้แก่ แพทยสภา
ทันตแพทสภา สภาเภสัชกรรม สภาคณบดีสถาบันผลิตบัณฑิต เทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย
ขณะเดียวกันยังรวมเอาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทางวิชาการ เช่น
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) TED Fund สถาบันวิจัยกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
ส่วนหน่วยงานตรวจวิเคราะห์
ที่ดึงเข้ามาร่วมทำงานในการสนับสนุนให้เกิดการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ได้แก่
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หน่วยงานพัฒนามาตรฐานอุตสาหกรรม สถาบันมาตรวิทยา
สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย เป็นต้น
“การแปรผลิตภัณฑ์การวิจัยไปในเชิงพาณิชย์จากหิ้งไปสู่ห้าง
จะดูในส่วนต่างๆให้มีการพัฒนาควบคู่กันทั้งในเรื่ององค์ความรู้ ความพร้อมของทุน
และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด"
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/850326